คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนด้วยวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญด้านหนึ่งของคณะวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์หลักของมหาวิทยาลัยด้านความยั่งยืน (Sustainability)
ปัจจุบันพบว่านักเรียนที่สนใจเรียนด้านวิทยาศาสตร์มีแนวโน้มลดลง การสร้างเจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitudes) ให้เยาวชนจึงเป็นปัจจัยหนึ่งต่อการพัฒนากระบวนการคิด การเรียนรู้ ทำให้เยาวชนสามารถพัฒนาและเติบโตเป็นกำลังคนที่มีคุณภาพและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ต่อการพัฒนาประเทศ
เจตคติทางวิทยาศาสตร์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ให้นิยาม
ของเจตคติของวิทยาศาสตร์ไว้ 6 ประการด้วยกัน คือ
1
ความมีเหตุผล
4
ความซื่อสัตย์และเป็นกลาง
2
ความใฝ่รู้ หรือความอยากรู้อยากเห็น
5
ความเพียรพยายาม อดทนและมุ่งมั่น
3
ความใจกว้าง ร่วมแสดงความคิดเห็นและรับฟังความเห็นของผู้อื่น
6
ความละเอียดรอบคอบ
เจตคติทางวิทยาศาสตร์
สามารถสร้างขึ้นผ่าน
กระบวนการเรียนรู้
การศึกษาทางวิทยาศาสตร์
กลุ่มเป้าหมายโครงการ
นักเรียน
การเรียนวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนยังคงมีภาพลักษณ์ว่า น่าเบื่อและยาก ดังนั้น การสร้างประสบการณ์นอกห้องเรียน เปิดโลกทัศน์ ให้เยาวชน น่าจะทำให้เกิดภาพของความเชื่อมโยงความรู้ทางวิทยาศาสตร์กับสิ่งรอบตัวในชีวิตประจำวัน ทำให้เยาวชน รวมถึงบุคคลที่สนใจรู้สึกสนุกไปกับเนื้อหา มีส่วนร่วมและคิดตามการเรียนรู้ที่ได้ออกแบบไว
ครูวิทยาศาสตร์
ครูวิทยาศาสตร์เป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะช่วยจัดกิจกรรมในห้องเรียนที่ช่วยเสริมสร้างและพัฒนาเจตคติทางวิทยาศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การอบรม สัมมนาเพื่อแบ่งบันประสบการณ์การสร้างกิจกรรมในห้องเรียนวิทยาศาสตร์กับครูวิทยาศาสตร์ให้สามารถนำไปปรับใช้ในการสอนให้มีความน่าสนใจ ใช้วิธีการถ่ายทอดแบบ Active learning ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียนและเกิดทัศนคติที่ดีเห็นประโยชน์ของการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
ชุมชน ศิษย์เก่า
และผู้ประกอบการ
กลุ่มศิษย์เก่า หรือกลุ่มบุคคลที่สนใจที่จะนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ไปต่อยอดเพื่อสร้างนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชน ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
ภาพรวมโครงการ